Kamaka Hawaii Ukulele ครบรอบ 100th ปี

Kamaka Hawaii Ukulele ครบรอบ 100th ปี

Kamaka Hawaii คือชื่อผู้ผลิตอูคูเลเล่ที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุดในโลก ที่ยังคงเดินหน้าผลิตอูคูเลเล่
อยู่มาจวบจนครบ  100  ปีในปีนี้  ผ่านมาสี่ชั่วอายุคนของคนตระกูล   Kamaka    จากรุ่นทวด
สู่ปู่  มารุ่นพ่อ  และหลาน   โดยทุกกระบวนการผลิตอูคูเลเล่    พวกเขาตระหนักถึงคำสอนของ
Sam Kamaka Sr.   ผู้ก่อตั้งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1916   ว่า   "ถ้าเราเอานามสกุลของเรามาเป็นยี่ห้อ
ก็อย่าทำของห่วยๆ ออกมา" ซึ่งคำสอนนี้สั้นนัก  แต่เต็มไปด้วยความตั้งใจ  ตั้งใจในการสร้าง
แต่สิ่งดีๆ  เพื่อเป็นเกียรติแก่วงตระกูลของพวกเขา  และเพื่อให้โลกนี้ได้มีอูคูเลเล่
ตำรับดั้งเดิมเล่นกัน



ริบบีมีความภูมิใจเป็นอย่างมากที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่าย Kamaka ในประเทศไทย
มาได้ 5 ปีแล้ว  นับเป็นเกียรติสูงสุดของคนขายอูคูเลเล่  ที่ผู้ผลิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ไว้วางใจ
ให้เราเป็นหน้าเป็นตาของเขาในแผ่นดินสยาม  ซึ่งการจะให้ใครเป็นตัวแทนนั้น  เขาไม่ได้มองที่
เงินตรา  หรือยอดขายที่เอามาโอ้อวด   ว่าจะขายให้เขาได้เท่าไหร่   แต่เขามองที่ว่าคุณทำอะไร
ให้วงการอูคูเลเล่บ้าง  คุณมีเงินเท่าไหร่เขาไม่สน   เขาสนว่าคุณมีใจหรือเปล่า   และนั่นเป็นที่มา
ของการใช้ใจทำงาน ที่เราเรียนรู้มาจากการ Kamaka อีกที 

ชาวริบบีเกือบทุกคน  และเพื่อนๆ  ของริบบี  ได้ไปเยือนโรงงาน  Kamaka  ที่ฮาวายมาหมดแล้ว
ด้วยเราเชื่อว่าถ้าจะเป็นตัวแทนของเขาแล้ว  เราต้องรู้จริง  เห็นจริง  สัมผัสจริง  ใครถามเกี่ยวกับ
สิ่งที่เราทำ  ต้องตอบได้แม่นยำเหมือนไปเห็นมาเอง  ถามเรื่องอูคูเลเล่ต้องรู้  ถามเรื่องถิ่นกำเนิด
และวัฒนธรรมต้องได้  และพวกเราก็ไปสัมผัสมาเองจริงๆ  ทั้งฮาวาย  โรงงาน  ผู้ผลิต และศิลปิน
ของ   Kamaka   เราได้รับรู้ถึงการทำงานที่ใช้หัวใจนำทางนี้เป็นอย่างดี    จนพัฒนามาเป็น
ริบบี สไตล์ เช่นกัน

ใครเคยได้เล่น   Kamaka   จะเข้าใจว่าอูคูเลเล่แท้ๆ  นั้นเป็นเช่นไร  การผลิตตามตำรับการสร้าง
อูคูเลเล่เมื่อแรกเริ่ม   ถูกผนวกเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่   ทำให้พวกเขาผลิตอูคูเลเล่ออกมาได้
ไม่เป็นรองใคร สุ้มเสียงที่ดีดออกมา แค่โน๊ตเดียว หรือสตรัมแรก ก็รับรู้ได้ถึงมวลเสียงที่นุ่มละมุน
เป็นเอกลักษณ์ของ Kamaka มาแต่เก่าก่อน

ทุกครั้งที่ไปเยี่ยมโรงงาน   เราจะได้ฟังลุง  Fred Kamaka  ผู้พ่อ   ซึ่งเป็นรุ่นที่สองของ  Kamaka
ยืนต้อนรับ    พร้อมเล่าเรื่องราวความเป็นมาของอูคูเลเล่สำนักนี้ให้ฟัง    ลุงแกจะนำรูปสมัยก่อน
ที่มีแกยืนอยู่กับคุณพ่อ  ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง  Kamaka  มาให้ดู  พร้อมเล่าว่าเขาได้ลงมือสร้างอูคูเลเล่
ตัวแรก   ตั้งแต่ 4-5  ขวบเลยทีเดียว   โดยสมัยนั้นอูคูเลเล่ตัวหนึ่งก็ราคาแค่  5  เหรียญสหรัฐ
เท่านั้นเอง :)    ลุง  Fred  ผู้ใจดีและเสียงดังฟังชัดเอามากๆ    จะค่อยแยะแนะนำอูคูเลเล่ของเขา
ทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่       ตลอดจนบรรยายสรรพคุณ       และลักษณะพิเศษของเสียงของอูคูเลเล่
Kamaka  ตลอดจนความพิเศษของทรงสับปะรด  ที่คิดค้นขึ้นโดยพวกเขา   จนเป็นที่มาของเสียง Kamaka ทุกตัว ที่มีเสียงทุ้มนุ่มละไมจากต้นแบบทรงสับปะรดนี้

                

                

ภาพนี้ติดอยู่ที่ผนังตรงข้ามกับเคาท์เตอร์ที่ลุง  Fred  ต้อนรับผู้มาเยือน    เป็นรูปลุง Sam Junior
พี่ชายของเขา   กำลังตรวจสอบเฟร็ตอูคูเลเล่อยู่   ข้างๆ  มีหลานรักนั่งเล่นอูคูเลเล่อยู่ด้วย   อนึ่ง
Kamaka    ทุกตัว     เนื่องจากพวกเขาต้องมั่นใจว่า  อูคูเลเล่ที่ออกจากโรงงานทุกตัวได้คุณภาพ
มาตรฐาน Kamaka  จึงต้องให้คนในตระกูล  Kamaka  เท่านั้นเป็นผู้เช็คอูคูเลเล่รายตัว  ว่าผ่าน
หรือไม่ จึงจะส่งสู่ตัวแทนจำหน่ายได้  และ  Kamaka จะไม่จำหน่ายอูคูเลเล่เอง (ยกเว้นรุ่นคัสตอม
ที่ไม่ใช่ทุกคนจะสั่งได้ง่ายๆ)   ถ้ามาเยือนโรงงาน   จะได้แค่ชมการผลิต   แต่หากอยากได้กลับไป
สักตัว ต้องไปที่ร้านตัวแทนจำหน่าย  พวกเขาไม่แย่งตัวแทนจำหน่ายขาย  ซึ่งถือเป็นจรรยาบรรณ
ของผู้ผลิตที่ดี

ในโรงงานของ Kamaka มีช่างอยู่ไม่มากนัก ในปีหนึ่งๆ  พวกเขาจะผลิตอูคูเลเล่ได้ไม่ถึงสี่พันตัว
ซึ่งจำนวนที่ผลิตได้ในแต่ละปี    จะอยู่ราวๆ  3,800  ตัวบวกลบเท่านั้น    ทีมงานของที่นี่พิเศษนัก
เพราะเขาให้ผู้พิการทางหูมาสร้างอูคูเลเล่ด้วย หนึ่งคือช่วยเหลือผู้พิการ สองคือผู้พิการทางหูจะมี
ประสาทสัมผัสชั้นเลิศ ในการรับรู้ความสั่นสะเทือนของไม้ ซึ่งทำให้พวกเขามีความสามารถเหนือมนุษย์ปกติ   ในการเลือกไม้ที่เหมาะสมที่สุด   มาประกอบเป็นอูคูเลเล่  อูคูเลเล่ทีละตัว  จะค่อยๆ
ถูกสร้างขึ้นทีละนิดที่นี่  จนออกมาเป็นที่สุดของอูคูเลเล่  ที่คนรักอูคูเลเล่ทั่วโลกอยากเป็นเจ้าของ
สักตัว หรือมากกว่านั้น

                

                

ผมพบหนังสือ  อูคูเลเล่...ฉันรักเธอ ของผมเอง  ที่เขียนถึงการมาเยือนโรงงานนี้ครั้งแรก  วางอยู่
ในชั้นหนังสือของเขา  ตอนนี้ผมจำไม่ได้แล้ว  ว่าได้มาเยือนที่นี่กี่หน    แต่ทุกหนผมยังคนตื่นเต้น
และสนใจทุกสิ่งทุกอย่างของที่นี่ทุกครั้งไป   มันเหมือนกับได้มาเยือน    สวรรค์ของคนรักอูคูเลเล่
เลยทีเดียว  ส่วนภาพขวาล่างนี  ถ้าสังเกตุดูดีๆ  ป้ายเขาจะบอกว่าถ้าเอาอูคูเลเล่มาซ้อม อาจต้อง
รอเป็นปีจึงจะเสร็จ    สาเหตุน่าจะเป็นเพราะถ้าช่างเขามาซ่อมให้    อูคูเลเล่ก็ต้องหยุดสร้าง
เพราะเป็นคนๆ เดียวกันทำนั่นเอง

               
บางภาพจากการไปเยี่ยมโรงงาน Kamaka ของผม คัดมาบางภาพ เพราะถ่ายไปจากทุกครั้ง
ร่วมพันภาพได้ครับ เยอะมากจริงๆ จนอยากรวมเล่ม :)
ภาพแรกคือผมและ Chris Kamaka ผู้นำของพวกเขาในยุคปัจจุบัน พร้อมด้วยศิลปินเอกของ
Jake Shimabukuro   และ   Kalei Gamiao   สองศิลปินอูคูเลเล่ที่ใช้  Kamaka  ซึ่งพวกเขา
ไม่ได้ได้มาฟรีๆ  นะครับ   เขาก็ต้องซื้อเอาเหมือนกัน     แถมรอนานกันเลยกว่าจะได้แต่ละตัว
เพราะทำคัสตอม   ซึ่งงานคัสตอม   ต้องเป็นคนตระกูล   Kamaka   เท่านั้นจึงจะได้ทำครับ
ทางขวาสุดคือ Derek Gamiao ผู้ทรงอิทธิพลในวงการดนตรีฮาวายครับ

ผม ตาด่องริบบี กับ Dustin Kamaka ทายาทรุ่นล่าสุด  ที่เป็นทั้งกัปตันขับเครื่องบิน   และช่าง
สร้างอูคูเลเล่ คนนี้ต้องรอวันที่เขาไม่ไปขับเครื่องบิน จึงจะมาสร้างอูคูเลเล่คัสตอมได้  ซึ่งนานๆ
จะมีเวลาที แต่ฝีมือของเขา ไม่ธรรมดาเลยจริงๆ ครับ

Chris Kamaka กำลังตรวจสอบอูคูเลเล่ที่กำลังจะส่งไปที่ Ribbee ที่เมืองไทยอยู่ครับ สำหรับ
Chris นี้ เขาดังในแวดวงอูคูเลเล่ยิ่งกว่าศิลปินเสียอีก เวลาไปญี่ปุ่น จะมีแฟนๆ อูคูเลเล่ พากัน
มารอขอลายเซ็นต์ ไม่ต่างจากซุปเปอร์สตาร์ครับ


ล่าสุดศิลปินอูคูเลเล่จากประเทศเราได้รับเกียรติจาก  Kamaka  ให้เป็นศิลปิน  Kamaka  ด้วย
เขาคือ อภิรักษ์ ศิรินันทกุล มืออูคูเลเล่บรรเลง ที่ไปตระเวณแสดงมาแล้วหลายประเทศ  ไต้หวัน
ฮ่องกง เกาหลี ญี่ปุ่น  ฟิลิปปินส์  อเมริกา  ฮาวาย  ประเทศละหลายหน  ด้วยสไตล์การเล่นและ
บทเพลงที่เขาแต่งขึ้นมา   ไม่เหมือนใครและน่าฟังมาก   จนเป็นที่นิยม     ยกเว้นที่ประเทศไทย
ที่คนไม่นิยมฟังเพลงบรรเลง   และผู้ใหญ่ทำงานจนลืมจรรโลงใจด้วยดนตรีดีๆ   ทำให้เขาไปมี
ชื่อเสียงในต่างประเทศ   จนได้เป็นศิลปิน   Kamaka   ที่ใครๆ   ที่เล่นอูคูเลเล่ก็อยากเป็น
แต่ไม่ได้เป็นกันง่ายๆ :)


ในปีนี้ Kamaka มีอายุครบ 100 ปี ทำให้มีการเฉลิมฉลองเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม คอนเสิร์ต หรืออูคูเลเล่พิเศษที่จะทำขึ้นมาเฉพาะในปีนี้

Kamaka ทุกตัวที่ผลิตในปีนี้เท่านั้น   จะได้รับการตกแต่งตรง   head stock   โลโก้   Kamaka
พร้อมสัญลักษณ์ครบรอบ  100 ปี   1916 - 2016  และฉลากภายในบอดี้  จะเป็นดีไซน์ใหม่
เมื่อหมดปี   ตราบนหัวอูคูเลเล่จะกลับมาเป็นแบบปกติ   ทำให้อูคูเลเล่ที่ผลิตขึ้นมาในปีนี้    เป็น
อูคูเลเล่ที่พิเศษทุกตัว (และยังจะมีตัวโคตรพิเศษอีกตามมา แต่อันนั้นต้องแย่งกันอย่างหนัก และ
ราคาสูงมาก ประมาณ 10,000 เหรียญสหรัฐ)


ในภาพคือตอนผมไปบู๊ท Kamaka ที่งาน NAMM Show 2016 ซึ่งเขานำต้นแบบของอูคูเลเล่ที่
มาพร้อมโลโก้ใหม่มาแสดง นั้นคือเดือนมกราคม มา ณ ตอนนี้ที่เขียนบทความนี้ ก็ปาไปกลาง
เดือนเมษายนแล้ว อีกไม่นานจะครึ่งปีแล้ว ล็อตแรกของ Kamaka ยังไม่ออกมาเลย จะมีเห็นบ้าง
ก็สองสามตัว ที่ตัวแทนฮาวายโชคดีได้ไป


สำหรับของ ริบบี เราจะได้ล๊อตแรกเข้ามาปลายเดือนเมษายน 13 ตัว   ซึ่งก็ไม่แน่ใจว่าล็อตสอง
จะมาทันสิ้นปีไหม  ก็คงต้องลุ้นกันครับ  เพราะความต้องการ  Kamaka  ของปีนี้   มากกว่าสิ่งที่
ผลิตได้มากมายนัก  และผมเชื่อว่ามันจะต้องกลายเป็นอูคูเลเล่สะสม  คุณค่าเพิ่มขึ้นอีกมากมาย
หลังจากหยุดผลิตเมื่อสิ้นปีแน่นอน

เมื่อเดือน  กุมภาพันธ์  ผมไปฮาวายมาอีกครั้ง  และได้เก็บภาพอูคูเลเล่  Kamaka  โฉมครบรอบ
100 ปี แบบที่จะมาถึงไทยในปลายเมษายนนี้มาให้ชมครับ


นี่เลยครับ ตัวธงที่เราจะได้มาเพียงสามตัว Kamaka รุ่นหัว slot head จะเห็นว่า
มีตราครบรอบ 100 ปีประดับไว้


แม้รุ่นธรรมดา ก็ไม่ธรรมดา เพราะที่หัวจะมีอินเลย์แถบริบบิ้น 1916 - 2016
ฉลองครบรอบ 100 ปีอยู่


ฉลากข้างใน ได้รับการออกแบบใหม่ ด้วยโลโก้ใหม่ ส่วนวิธีดูฉลากตามนี้ครับ จากในภาพ
คือ 160105  ตัวเลข  16  สองตัวแรกแปลว่า  สร้างปี 2016  สวนที่เหลือคืออันดับตัวที่สร้าง
ตัวนี้คือตัวที่ 105 ครับ
 

อีกมุมหนึ่งของรุ่น Top ที่เราได้มาสามตัวครับ คาดว่า ในขณะที่เราได้มาคงมีไม่ถึง 20 ตัว
ในโลก และสิ้นปีคงมีไม่ถึง 500 ตัวในโลกแน่ๆ หรือดีไม่ดีก็น้อยกว่านั้นครับ



และนี่คือประวัติคร่าว และเรื่องราวอัพเดตของ Kamaka Hawaii อูคูเลเล่ที่ขลังและเก่าแก่
ที่สุดในโลก เท่าที่ยังมีอยู่ครับ

สำหรับแฟน Kamaka และผู้ที่สนใจ  เมื่อมันเดินทางมาถึงสามารถมาชมได้ที่   ริบบี  สาขา
ทากะทาวน์ นะครับ ไม่ทราบว่าจะมีสักกี่ครั้งในชีวิต ที่จะมีเครื่องดนตรีประวัติศาสตร์แบบนี้
ออกมา  ทางทีมงานผมเองก็จ้องจะเอา  แต่ผมขอให้อย่าเพิ่งจับจอง   เพราะเรามีหน้าที่ขาย
ก็ควรขายก่อน


ถ้าให้ผมเดา ผมคิดว่าเราน่าจะได้อีกล็อตหนึ่งตอนใกล้สิ้นปี แต่อีกใจหนึ่งก็เกรงว่าจะได้ไม่ทัน
เพราะตัวแทนที่อเมริกา  ญี่ปุ่น  หรือที่ไหนๆ  ในโลก  ต่างต้องการอูคูเลเล่  Kamaka   อยู่แล้ว
เป็นปกติ    แต่นี่ยิ่งมีการทำโลโก้พิเศษ มันน่าจะทำได้ไม่พอกับความต้องการ  คล้ายๆ
กับในอดีตที่เคยเกิดขึ้นมา


แต่ถึงได้มาก็จะได้ประมาณสิบตัวต้นๆ  นี่แหละครับ  นั่นแปลว่าคนไทยประมาณ 20 คน
จะได้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์นี้ (จริงๆ มีต่างชาติติดต่อมาด้วย แต่ผมยังไม่ยอมให้จอง
เพราะเราเป็นตัวแทนประเทศไทย ต้องให้คนไทยก่อน)

ผมเอาใบสั่งสินค้ามาให้ชมกันครับ ว่าอะไรกำลังจะมาบ้าง.....


นี่คือ Kamaka ล๊อตที่กำลังจะมาครับ หากสนใจรุ่นไหน ติดต่อมาจองได้
หรือถ้าอยากชมตัวจริงก่อนก็มาลุ้นเอาเมื่อของมาได้เลยคร้าบบบ แล้วเจอกันครับผม

Back to blog